Sunday, February 21, 2010

RAM กับ ROM และคอมพิวเตอร์

ใช้คอมมาก็นานแสนนานนะครับ ตั้งแต่ก่อน 10 ขวบ RAM กับ ROM ก็เหมือนเพื่อนคนหนึ่งที่คอยช่วยยามเราทำงาน คนส่วนมากชอบหยุดความรู้ไว้เพียงว่ามี RAM มากเหมือนมีแรงมากทำอะไรก็แรง ก็เลยจะพาไปรู้จักกันให้มากกว่านี้ดีกว่าครับ

Click the image to open in full size.

รูปนี้มองดูแล้วก็สับสนวุ่นวายน่าดูนะครับ มีแต่สายไฟมากมาย แต่นี่ล่ะครับคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกหรือชื่อจริงๆคือ ENIAC ซึ่งย่อมาจาก Electronics Numerical Integrator and Computer (อุปกรณ์คำนวณทางอิเล็คโทรนิค) ถ้าพูดถึงความสามารถของ ENIAC นี่นะก็คือ เครื่องคิดเลขในปัจจุบันล่ะครับ (ขนาดต่างกันมากจริงๆครับระหว่าง ENIAC กับเครื่องคิดเลขในปัจจุบัน) ... ENIAC นี่เป็นผลงานของ John W. Mauchly (จอห์น ดับลิว มอชลีย์) และ J. Prespern Eckert (เจ เพรสเพอร์ เอคเกิรต) ในปี ค.ศ. 1946 โดยมีกระทรวงกลาโหมของสหัรฐอเมริกา (Pentagon) เป็นกองทุนให้ (เขาว่ากันว่าจุดประสงค์หลักของโครงการนี้เพื่อ "เพื่อคำนวณวิถีกระสุนปืนใหญ่" ครับ) ...

แล้ว ENIAC นี่มันไปเกี่ยวอะไรกับหัวข้อ RAM กับ ROM ล่ะครับ ??? เกี่ยวสิครับขึ้นชื่อว่าเป็นคอมพิวเตอร์แล้วขาดหน่วย ความจำไม่ได้แน่นอน เพียงแต่เป็นหลอดสูญญากาศ (vacuum tube หรือ electron tube) และจำนวนที่ใช้คือ 18,000 หลอด !!! เจ้าพ่อคุณรุนช่องเอ้ย !!! 18,000 หลอดครับ

Click the image to open in full size.

นี่คือหลอดสูญญากาศในช่วง ค.ศ. 1950 ครับ นึกภาพแล้วคงปวดตาแย่ มีหลอดแก้วนี่อยู่ 18,000 หลอด

ไม่พูดถึงอดีตมากนะครับ ... อดีตยิ่งคุยยิ่งยาว ... ขอหมุนนาฬิกามายุคแรกๆของหน่วยความจำเลยแล้วกันครับ

RAM ย่อมาจาก Random Access Memory (หน่วยความจำเข้าถึงแบบสุ่มๆ) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุค ปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว

คนส่วนมากได้รับความรู้ทางคอมพิวเตอร์ที่ผิดมากครับ ... ที่ผมสังเกตนะ เจอในแบบทดสอบ ป.โท ถามว่า "What is computer's main memory?" พี่ข้างๆผมเขาจะตอบ Hard disk ไป ยังดีผมห้ามไว้ทัน คำตอบจริงคือ RAM ครับ ... แต่ก่อนผมก็คิดแบบนั้น เพราะเวลามีอะไรอะไรก็เอามายัดไว้ใน Harddisk อย่างเดี๋ยวนิครับ ... ต่อครับ

ข้อมูลใน RAM อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง RAM จัดเป็น Volatile Memory เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวล าที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น (ถ้าไม่หล่อจริงๆ เลี้ยงไม่ได้นะครับ)

เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้แรมในการเก็บโปรแกรมและข้อมูลร ะหว่างการประมวลผล คุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของแรมคือ ความเร็วที่ใช้เข้าหนึ่งตำแหน่งต่างๆ ในหน่วยความจำมีค่าเท่าๆ กัน ซึ่งต่างจากเทคโนโลยีอื่นบางอย่างซึ่งต้องใช้เวลารอก ว่าที่บิตหรือไบต์จะมาถึง

ระบบแรกๆ ที่ใช้หลอดสุญญากาศทำงานคล้ายกับแรมในสมัยปัจจุบันถึ งแม้ว่าอุปกรณ์จะเสีย บ่อยกว่ามาก หน่วยความจำแบบแกนเฟอร์ไรต์ (core memory) ก็มีคุณสมบัติในการเข้าถึงข้อมูลแบบเดียวกัน แนวความคิดของหน่วยความจำที่ทำจากหลอดและแกนเฟอร์ไรต ์ก็ยังใช้ในแรมสมัยใหม่ ที่ทำจากวงจรรวม (IC)

RAM มักเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ที่มีเวลาเข้าถึงข้อมูล ไม่เท่ากัน เช่น หน่วยความจำแบบดีเลย์ไลน์ (delay line memory) ที่ใช้คลื่นเสียงในท่อบรรจุปรอทในการเก็บข้อมูลบิต

Click the image to open in full size.
หน่วยความจำแบบปรอทของเครื่อง UNIVAC I (ค.ศ. 1951) ... อะไรกันนี่ ปืนรังสี Proton Cannon ของ Ironman ใน Mavel Superheros (PSX) หรือเปล่าเนี่ย (ล่าง-หน้า-ล่าง-หน้า-R1)

และก็ยังมี Drum memory (หน่วยความจำแบบดรัม) ซึ่งทำงานใกล้เคียงฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน เป็นข้อมูลในรูปของแม่เหล็กในแถบแม่เหล็กรูปวงกลม แต่นี่ไม่น่าจะเป็น RAM นะครับจากการทำงานแล้วดูเป็น ROM มากกว่า

Click the image to open in full size.
Drum memory ของเครื่อง ZAM-41
คอมพิวเตอร์ของคนโปรแลนด์

แรมหลายชนิดมีคุณสมบัติ volatile หมายถึงข้อมูลที่เก็บจะสูญหายไปถ้าปิดเครื่องคอมพิวเ ตอร์ แรมสมัยใหม่มักเก็บข้อมูลบิตในรูปของประจุไฟฟ้าในตัว เก็บประจุ ดังเช่นกรณี ไดนามิคแรม หรือในรูปสถานะของฟลิปฟล็อป ดังเช่นของ สแตติกแรม

ปัจจุบันมีการพัฒนา NV-RAM (Non-volatile RAM) ซึ่งยังเก็บรักษาข้อมูลถึงแม้ว่าไม่มีไฟเลี้ยงก็ตาม เทคโนโลยีที่ใช้ ก็เช่น เทคโนโลยีนาโนทิวจากคาร์บอน (carbon nanotube) และ ปรากฏการณ์ magnetic tunnel

Click the image to open in full size.

แบบจำลองของ CNTs หรือ Carbon NanoTube ครับ ... นักคอมอย่างเดียวอาจจะมึนไปชั่วขณะ แต่พอดีผมอ่านหนังสือ Physic of the Impossible เขียนโดย Michio Kaku มาครับ ... ลุง Michio Kaku เขาบอกไว้ถึง CNTs นี่ล่ะที่น่าจะสร้าง Force Field (Force Shield) เกราะพลังงานได้ ซึ่งเข้ากับ Concept ของเกม Crysis พอดีเลยครับ Nanosuit มี Maximum Armor เป็นไปได้ว่าอย่างน้อยคนคิดต้องได้ติดตามงานของลุง Michio Kaku ไม่มากก็น้อย ... นอกเรื่องอีกแล้ว ต่อนะครับ

Click the image to open in full size.

ในฤดูร้อนปี พ.ศ. 2546 มีการเปิดตัวแรมแบบแม่เหล็ก (Magnetic RAM, MRAM) ขนาด 128 Kib ซึ่งผลิตด้วยเทคโนโลยีระดับ 0.18 ไมครอน หัวใจของแรมแบบนี้มาจากปรากฏการณ์ magnetic tunnel ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2547 บริษัท อินฟินิออน (Infineon) เปิดตัวต้นแบบขนาด 16 Mib อาศัยเทคโนโลยี 0.18 ไมครอนเช่นเดียวกัน

สำหรับหน่วยความจำจากคอร์บอนนาโนทิว บริษัท แนนเทโร (Nantero) ได้สร้างต้นแบบขนาน 10 GiB ในปี พ.ศ. 2547

ใน เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถจองแรมบางส่วนเป็นพาร์ติชัน ทำให้ทำงานได้เหมือนฮาร์ดดิสก์แต่เร็วกว่ามาก มักเรียกว่า แรมดิสค์ (Ramdisk) ใครสนใจไปตาม http://forum.pcstats.com/showthread.php?t=29132 นะครับ

เรียง RAM ให้ดูกันครับ

Click the image to open in full size.

สรุปเรื่องของ RAM พอคราวๆแค่นี้ แล้วต่อด้วย ROM กันครับ ...

ROM ย่อมาจาก Read-only Memory (หน่วยความจำได้แต่อ่าน) เป็น หน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อ ย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นหน่วยความจำที่มีซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับ Micro Processor โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากหน่วยความจำ (Non-volatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้ ว เช่น เก็บโปรแกรม BIOS (Basic Input output System) ใน Mainboard หรือ Firmware ที่ควบคุมการทำงานของ Sony PSP แม้แต่ในเครื่องคิดเลขยังมีครับ สังเกตได้จากเวลากดปุ่ม Memo ที่เครื่องคิดเลข

Mask ROM หน่วยความจำประเภทนี้ ข้อมูล ทั้งหมดที่อยู่ภายใน จะถูกโปรแกรมมาจากโรงงานตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตไอ ซี เราจะใช้ ROM ชนิดนี้ เมื่อข้อมูลนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง และเหมาะสำหรับงานที่ผลิตครั้งละมากๆ ผู้ใช้ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงข้อมูลภายใน ROM ได้ ROM ประเภทนี้มีทั้งแบบไบโพลาร์และแบบ MOS (หรือ CMOS) ... ถ้านึกไม่ออก ให้นึกถึงตลับเกมนะครับ

จากไอซี ROM แบบแรกการโปรแกรมข้อมูลจะต้องโปรแกรมมาจากโรงงาน และต้องผลิตจำนวนมากจึงจะคุ้มค่ากับต้นทุนในการผลิต อีกทั้งโรงงานผู้ผลิตไอซีจะรู้ข้อมูลที่เก็บอยู่ด้วย สำหรับระบบดิจิตอลหรือคอมพิวเตอร์ที่ผลิตออกมาจำนวนไ ม่มากและต้องการใช้ หน่วยความจำ ROM สามารถนำหน่วยความจำ ROM มาโปรมแกรมเองได้ โดยหน่วยความจำนี้จะเรียกว่า PROM (Programmable Read Only Memory) หน่วย ความจำประเภทนี้ เซลล์เก็บข้อมูลแต่ละเซลล์จะมีฟิวส์ (fused) ต่ออยู่ เป็นหน่วยความจำที่ข้อมูลที่ต้องการโปรแกรมจะถูกโปรแ กรมโดยผู้ใช้เอง โดยป้อนพัลส์แรงดันสูง (HIGH VOLTAGE PULSED) ไอซี PROM ที่ยังไม่ถูกโปรแกรมนั้น ข้อมูลทุกเซลล์หรือทุกบิตจะมีค่าเท่ากันหมด คือ มีลอจิกเป็น 1 แต่เมื่อได้มีการโปรแกรมโดยป้อนแรงดันไฟสูงๆเข้าไปจะ ทำให้เซลล์บางเซลล์ ฟิวส์ขาดไป ทำให้ตำแหน่งที่เซลล์นั้นต่ออยู่มีลอจิกเป็น 0 เมื่อ PROM ถูกโปรแกรมแล้ว ข้อมูลภายใน จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก เนื่องจากฟิวส์ที่ขาดไปแล้วมาสามารถต่อได้ หน่วยความจำชนิดนี้ จะใช้ในงานที่ใช้ความเร็วสูง ซึ่งความเร็วสูงกว่า หน่วยความจำที่โปรแกรมได้ชนิดอื่นๆ

หน่วยความจำประเภท EPROM เป็นหน่วยความจำประเภท PROM ที่สามารถลบข้อมูลหรือโปรแกรมข้อมูลใหม่ได้ เหมาะสำหรับงานสร้างวงจรต้นแบบที่อาจต้องมีการแก้ไขโ ปรแกรมหรือข้อมูลใหม่ ข้อมูลจะถูกโปรแกรม โดยผู้ใช้โดยการให้สัญญาณ ที่มีแรงดันสูง (HIGH VOLTAGE SIGNAL) ผ่านเข้าไปในตัว EPROM ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ใช้ใน PROM หน่วยความจำประเภทนี้มี 2 ประเภท คือ ประเภทที่ลบข้อมูลด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต หรือที่เรียกกันว่า UV PROM ส่วนอีกประเภทหนึ่งเป็นหน่วยความจำที่ลบข้อมูลด้วยไฟ ฟ้า เรียกว่า EEPROM ย่อมาจาก Electrical Erasable PROM

หน่วยความจำประเภท UV PROM การโปรแกรมทำได้โดยการป้อนค่าแรงดันไฟฟ้าที่เหมาะสมเ ข้าไป และข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ตลอดไป สำหรับการลบข้อมูลทำได้ด้วยการฉายแสงอัลตราไวโอเลตเข ้าไปในตัว ไอซี โดยผ่านทางช่องใสที่ทำด้วยผลึกควอตซ์ที่อยู่บนตัวไอซ ี เมื่อฉายแสงครู่หนึ่ง (ประมาณ 5 - 10 นาที) ข้อมูลที่อยู่ภายในก็จะถูกลบทิ้ง ซึ่งช่วงเวลาที่ฉายแสงนี้สามารถดูได้จากข้อมูลที่กำห นด (DATA SHEET) มากับตัว EPROM

... ส่วนมากเขาก็เอา EEPROM เนี่ยมาใช้กับหุ่นยนต์กันซะมาก ผมก็เคยเขียนอยู่ครับ ใช้ Mikro C ครับ ตอนนี้เลิกไปแล้วยิ่งเขียนยิ่งงง แล้วก็ทำ Project ด้วยตอนนั้น

ในชีวิตประจำวันของเรานี้ ตั้งแต่อดียสู่อณาคต มีอะไรที่เป็นหนาวยความจำบ้างเอ่ย ???

Click the image to open in full size.

Hard disk drive, HDD (1954) ผลงานจากห้องวิจัย IBM จากอดีตสู่ปัจจุบัน
ถามว่ามันคือ ROM เหรอ ? ไม่กล้าบอกตรงๆว่าใช่ แต่จัดอยู่ใน non-volatile คือปิดเครื่องแต่ข้อมูลก็ยังอยู่ ...

Click the image to open in full size.

8-inch, 5¼-inch, and 3½-inch Floppy disks (1969 - 1982)
ROM ยอดฮิตแห่งศตวรรษที่ 19 ที่ชวนหวนให้คิดถึงอดีต ตอนนี้ผมยังมีอยู่เลยครับ อยู่ในกล่อง IBM-DOS 3.0 มี 5¼-inch 2 แผ่น และ 3½-inch อีกแผ่น

Click the image to open in full size.

Gramophone record หรือ แผ่นเสียง !!! 12-inch (30-cm) 33 1/3 Rpm (รอบ/นาที) ... นี่ก็ ROM ครับ เห็นแล้วก็อยากฟังเพลงเก่าๆนะครับ ฟังกลางวันได้ แต่ถ้าฟังกลางคืนจะรู้สึกแปลกๆนะครับ มันหวิวๆยังไงก็ไม่รู้

Click the image to open in full size. Click the image to open in full size.

CD-ROM (1979) ไม่มีใครไม่รู้จักรครับ หนำซ้ำยังเป็นที่เก็บข้อมูลหลักรองจาก HDD อีกด้วย ... ช่วงรุ่งเรืองที่สุดอยู่ในยุคของเกมเครื่อง Playstation มาใหม่ๆครับ ความจุปกติคือ 700 MB หรือ 80 นาทีของแผ่นเพลงทั่วไป

Click the image to open in full size. Click the image to open in full size.

DVD-ROM (1993) หลังจากยุคของเครื่อง Playstation ค่อยๆหายไป DVD-ROM ก็เริ่มมีจำนวนมากขึ้น อีกเหตุผลที่ทำให้ DVD ค่อยๆมาแทนที่ CD คือเรื่องความจุที่ไม่เพียงพอสำหรับงานที่ต้องการควา มละเอียดสูง ... DVD มี 4 แบบครับ ~4.7 GB (single-layer) ~8.54 GB (double-layer) ~9.4 GB (rare-single-layer) และ ~17.08 GB (rare-double-layer)

Click the image to open in full size.Click the image to open in full size.

VCDHD (Versatile Compact Disc High Density) ดูท่าคนสมัยใหม่จะไม่ค่อยระวังในการใช้แผ่นนัก เขาเลยคิดแผ่น VCDHD ที่มีความสามารถอันน่าประทับใจ คือ "ไม่ห่อตัว-ไม่ซึมเปลื่อน CD แบบกระชับ" ... บิดแล้ว บิดอีก บิดแล้ว บิดอีก บิดแล้ว ก็บิดอีก ก็ยังเอามาเล่นต่อได้ ... ความจุดก็น่าใช้ คือ 4.7 GB เท่า DVD ทั่วไปครับ นิยมในประเทศ Russia, Ukraine และ Poland อ้าวแล้วไทยง่ะ ! ฝันไปเถอะ ฮิฮิ

Click the image to open in full size. Click the image to open in full size.

LD, LaserDisc (1978) ภาพที่คุณเห็นนั้น ไม่ได้หลอกตาครับ ขนาดมันช่างใหญ่มหาศาล !!! ... มหาศาล !!! ... มหาศาลลลลลล !!! จริงๆครับ ถ้าคิดจะเอาแผ่น CD มาวางทับบน LaserDisc แล้วต้องใช้ถึง 7 แผ่นวางกระจายครับ ใหญ่ขนาดนี้แล้วความจุล่ะ 60 นาที ถ้าอัดแบบ CLV , 30 นาที่ ถ้าเป็น CAV

Click the image to open in full size.

EVD , Enhanced Versatile Disc (1999) คงไม่มีใครรู้จักมากนัก ผมก็ด้วยครับ ถ้าไม่เขียนบทความนี้ก็ไม่รู็นะเนี่ยว่ามีอันนี้ด้วย ... เป็นงานวิจัยของชาวจีนครับ ด้วยเหตุผลว่าค่า license หรือค่าใบอนุญาตสุดแสนจะแพงได้ใจ $13–$20 US ต่อเครื่อง ($16.5 x 33.6฿ = 437฿) เสียดายครับความจุไม่บอก

Click the image to open in full size. Click the image to open in full size.

MD, MiniDisc (1992) เห็นใช้กันอยู่ช่วงนึงครับ ตอนนั้นน่าจะเป็นยุค Sony Walkman เห็นจะได้ครับต่อมาพอมี Sony PSP ก็เป็น UMD แทน ... ความจุมาตรฐานอยู่ที่ 80 นาที แต่ถ้า Hi-MD ได้ถึง 1 ชั่วโมง หรือ 1 GB

Click the image to open in full size. Click the image to open in full size.

GD-ROM, Giga Disk read-only memory อยู่ใกล้ชาวตู้เกมจนมองไม่เห็น !!! เดินเข้าร้านตู้เกม Galaxy ETC. ที่ไหนๆ ก็มี GD-ROM ครับ เกมตู้ที่เห็นอย่าง Virtua Cop 3, Ghost Squad, The House of The Dead 3 ใช้ GD-ROM ทั้งนั้นครับ เป็นผลผลิตจาก Sega และ Yamaha สำหรับตู้เกมค่าย NAOMI, Triforce และ Chihiro ... ความจุอยู่ที่ 1.2 GB

Click the image to open in full size.

UMD, Universal Media Disc (2003) ใครเล่น PSP ช่วงแรกๆต้องมี UMD บ้างล่ะครับ แผ่นเกมและภาพยนต์ขนาดจิ๋วที่ราคาไม่จิ๋วเหมือนขนาด ผมก็มีครับเกม Burnout : Legend ด้วยความหลงไหลในเกม Burnout ภาคนี้จึงยอมจ่าย 1,650 บาท ... UMD มี 2 แบบครับ 900 MB (single layer) และ 1.8 GB (dual layer)
Click the image to open in full size.
Blu-ray, BD (2004) นี่คือสิ่งที่คนรักหนังอยากได้มากที่สุด รองจากเครื่องเล่น Blu-ray (ถ้าไม่มีเครื่องเล่นก่อน แล้วจะเอาแผ่นไปทำไม ?) ตอนนี้ Blu-ray มีใช้อยู่ 2 อย่างหลักๆครับ คือ ภาพยนต์ และเกมสำหรับ PS3 ... ความจุมากถึง 25 GB (single-layer), 50 GB (dual-layer) และอณาคตอาจ 1 TB (future)
HD-DVD, High-Definition/Density DVD
เป็นคู่แข่งของ Blu-ray มาก่อนจนสงคราม High-Definition จบลง HD-DVD ต้องพบจุดจบอย่างน่าเศร้า เมื่อ Blu-ray ลงตลาดได้แรงกว่า สำหรับ HD-DVD ผู้ที่สนับสนุนต่างๆต้องผิดหวังไปด้วย อย่าง Xbox360 ที่อ่าน HD-DVD เป็นหลัก ทำให้กลายเป็นข้อเสียถ้าเทียบกับ PS3 ที่สนับสนุน Blu-ray ... ความจุโดยประมาณ คือ 15 GB (single layer) และ 30 GB (dual layer)

Click the image to open in full size.Click the image to open in full size.


HVD, Holographic Versatile Disc (2009) ไม่มีใครรู้ข้อมูลมากมายนักสำหรับ HVD แต่เพียงแค่เห็นเลขความจุแล้วต้องร้อง อู้หู้ !!! เลยล่ะครับ ความจุในทางทฤษฎีอยู่ที่ 1-6 TB (1024-6144 GB) แค่นั้นยังไม่พอ ความจุที่จะเป็นไปได้ คือ 10-100 TB (10240-102400 GB) พระเจ้ากล้วยช่วยทอด 18 หวี !!!
ตอนนี้กำลังวิจัยกันอยู่ครับ คงต้องรอไปอีกนาน ...

จริงๆ ไม่ได้มีเพียงเท่านี้หรอกครับ ถ้าจะนั่งนับก็คงเหนื่อยน้อยกว่านั่งนับดาวนิดนึง ... ROM อีกตัวที่ไม่ได้บอกคือ Flash Drive และ Card ต่างๆเช่น SD, MMC, Memory Stick แล้วก็เทปเพลงด้วย และอีกมากมายครับ ... ไม่รู้ว่าต่อๆปในอณาคตจะมีอะไรอีกนะครับ หน่วย TB อาจจะเล็กไปสำหรับชีวิตประจำวัน หรือว่าจะมีใครที่จากไปจากวงการ เพราะตอนนี้ RAM ก็ใช้แทน ROM และ ROM ก็ใช้แทน RAM ได้เช่นกันครับ (RAM ใช้แทน ROM คือ Ramdisk ส่วน ROM ใช้แทน RAM คือ จองที่บน Harddisk ทำ Virtual Memory เช่น Paging File) คงต้องรอดูทั้ง RAM และ ROM กันต่อไปครับ

ขอบคุณครับ

Credit : http://en.wikipedia.org/wiki/Computer_data_storage , http://th.wikipedia.org/wiki/แรม , http://en.wikipedia.org/wiki/Random-access_memory , http://th.wikipedia.org/wiki/รอม , http://en.wikipedia.org/wiki/Vacuum_tube , http://en.wikipedia.org/wiki/Drum_memory , http://en.wikipedia.org/wiki/Delay_line_memory , http://forum.pcstats.com/showthread.php?t=29132 , http://masterorg.wu.ac.th/source/det...&paths=wu-stsp , http://en.wikipedia.org/wiki/Universal_Media_Disc , http://en.wikipedia.org/wiki/Blu-ray_Disc , http://en.wikipedia.org/wiki/HD_DVD , http://en.wikipedia.org/wiki/Holographic_Versatile_Disc , http://sirinas-mai.blogspot.com/2008...emory-rom.html (เขียนโดย MaiHaNaKa) , http://en.wikipedia.org/wiki/VCDHD , "Physic Of The Impossible" by Michio Kaku, 2008 (Textbook) - สนใจหนังสือเล่มนี้ ? หาซื้อได้ที่ร้าน Asia book ครับ มีจำนวนน้อยเพราะคนไม่สนใจฟิสิกส์กัน ต้องสั่งไว้ล่วงหน้า [หน้าปก]

และขอบคุณคุณ sailomsaengdaed ด้วยครับ คุณทำให้ผมนึกออกว่าผมลืมอะไรไปอย่าง คือ คอมพิวเตอร์มี Primary และ Second Storage แล้ว ยังมีอีกอันครับ คือ Tertiary storage นั่นก็คือ Database ครับ ไว้คราวหน้าแล้วกัน ...

No comments: